= นอกพื้นที่อุบัติภัยหมู่ =
"รับแจ้งเหตุถังออกซิเจนระเบิด มีผู้บาดเจ็บจำนวนหลายราย"
เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานต้องทำงานแข่งกับเวลา เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง
ฝ่ายตำรวจ ทำการปิดกั้นถนน
ฝ่ายทหาร กองกำลังพิเศษ (ทหารที่มีประสบการณ์มากที่สุด) ช่วยค้นหาและกู้ภัยคนรอดชีวิต
ฝ่ายบุคลากรทางการแพทย์ ระดมกำลังความช่วยเหลือจากทุกแผนกทุกสถานพยาบาล ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โทพีดิกส์ อายุรแพทย์ พยาบาล...
ทันทีที่พิทักษ์กาล: ทีมแพทย์อาสา เดินทางมาถึงโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้พื้นที่ประสบภัยมากที่สุด เขาเปลี่ยนเวรทำงานกับแพทย์ประจำที่อ่อนล้า จากการทำงานต่อเนื่องมาตลอดทั้งวันตั้งแต่เกิดเหตุ เขาประเมินและคัดแยกผู้ป่วยจำนวนมากที่ด้านนอกของโรงพยาบาลด้วยริบบิ้น
[ความหมายของริบบิ้น]
[สีแดง กู้ชีพ มีภาวะคุกคามที่จะทำให้เสียชีวิต ควรตรวจทันที]
[สีชมพู ฉุกเฉินวิกฤติ มีภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ควรตรวจภายใน 5-15 นาที]
[สีเหลือง ฉุกเฉินเร่งด่วน ควรตรวจภายใน 30-60 นาที]
[สีเขียว เจ็บป่วยเล็กน้อย ควรตรวจภายใน 60-180 นาที]
[สีขาว ผู้ป่วยนอกทั่วไป ควรตรวจภายใน 2 ชั่วโมง]
[สีม่วง ติดต่อ แยกพื้นที่ตรวจรักษา-พยาบาล]
[สีดำ ไม่ต้องรักษา]
โดนอะไรไม่ทราบกระแทกมีแผลฉกรรจ์, หายใจเหนื่อยอย่างรุนแรง, ชักเกร็ง, ระดับความรู้สึกตัวน้อยกว่า 8, ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดน้อยกว่า 90% สีแดง
ปวดท้อง 7 คะแนน, มีประวัติสลบ จำเหตุการณ์ไม่ได้, มีเลือดออกหู สีชมพู
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเลือดออกทางช่องคลอด, ไฟไหม้มากกว่า 25% ของพื้นที่ผิว, กระดูกหักที่ยังไม่ได้ดาม, สูญเสียการมองเห็นฉับพลัน, ความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท สีเหลือง
อ่อนเพลีย, รับประทานอาหารได้น้อย, ต้องทำกิจกรรมทางการแพทย์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 กิจกรรม สีเขียว
โรคทั่วไปในภาวะปรกติ สีขาว
วัณโรคปอด สีม่วง
เสียชีวิต สีดำ
บุคลากรทางการแพทย์จัดเวรผลัดเปลี่ยนกันทำงานในห้องผ่าตัดและห้องทำแผลของโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 72 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก
เมื่อคนพ้นขีดอันตรายถึงประสานงานกับโรงพยาบาลอื่นๆ เพื่อจัดส่งออกไปรับการรักษาต่อ หรือจำหน่ายกลับบ้าน